5 Martech เทรนด์ที่คุณควรรู้ในปี 2022

ตลอดปีที่ผ่านมาเราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านการขับเคลื่อนรากฐานของธุรกิจโดยเทคโนโลยี (Digital Transformation) และผลของการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในปี 2022 นี้ (Digital Disruption) ก็ถูกเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการมาซึ่งจุดจบของ cookie และการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยีสำเร็จรูปและการตลาดที่พัฒนาขึ้น

เราจะมาสรุป 5 เทรนด์ควรรู้สำหรับ marketing technology ที่จะช่วยนำคุณไปยังจุดที่น่าสนใจอย่าลืมจิบกาแฟและมีความสุขไปกับการอ่านบทความยาวนี้ล่ะ

#1 เตรียมก้าวไปสู่อนาคตของโลก cookie-less

นักการตลาดหลายคนทราบดีว่ายุคความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) กำลังมา แต่ 3 ใน 5 ของแบรนด์ก็ยังไม่พร้อมสำหรับโลก cookie-less ที่กำลังเข้ามานี้ อ้างอิงจาก Adobe

จาก 3rd party data ไปสู่ 1st – 0 party data

หากไม่นับความโชคดีที่ Google ตัดสินใจเลื่อนการเฟสการจัดการ 3rd party data ไปยังปี 2023 ผู้นำทางการตลาดก็ยังมีเวลาเพียงน้อยนิดในการคิดกลยุทธ์เพื่อการได้มาซึ่ง 1st และ 0 party data ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการติดสินใจของ Chrome ที่จะกำจัด 3rd party cookie (ส่วนแบ่งการตลาดของ Chrome อยู่ที่ 65% ของเว็บเบราว์เซอร์) นั้นจะส่งผลต่อความแม่นยำในการวัดประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาดิจิทัลอย่างยิ่ง (ROAS – Return on Advertising Spends)

ความจำเป็นในการรวมศูนย์ข้อมูลลูกค้าไว้ในที่เดียว

หนทางในอนาคตของโลก cookie-less นั้นแน่นอนต้องเกี่ยวเนื่องกับ 1st – 0 party data, กลุ่มผู้ใช้งาน, สถานการณ์หรือบริบท และแน่นอน AI-driven เพื่อจะรวบรวม ทำความเข้าใจและปฎิสัมพันธ์กับผู้ชม (audience)

1st party data คือ ข้อมูลที่ลูกค้ายินยอมให้เราเก็บเช่น พฤติกรรมบนเว็บไซต์, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ส่วน 0 party data คือ ข้อมูลที่ลูกค้าจงใจแบ่งปันให้กับคุณเช่น การทำแบบสำรวจความพึงพอใจลูกค้า, แบบทดสอบ (quiz) เป็นต้น ทั้ง 2 party data นี้คุณได้รับโดยตรงจากลูกค้าและมีคุณเป็นเจ้าของ

ทั้งหมดนี้คือเรื่องของข้อมูลลูกค้า (Customer Data) การใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์ที่มีความคล่องตัวทางข้อมูล, การจัดเก็บ, การสร้างศูนย์รวมมุมมองของลูกค้า และเชื่อมต่อข้อมูลไปได้ยังหลายช่องทางซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่อยู่ในหัวของผู้นำทางธุรกิจไปโดยปริยาย ดังนั้นแล้วไม่ว่าจะ Customer Data Platform (CDP) หรือ Customer Relationship Management (CRM) จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงที่มารองรับความต้องการดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2022

คำแนะนำจากอีมาติค

แนวทางนั้นชัดเจนแต่เส้นทางยังไม่กระจ่าง ปัญหาที่แบรนด์กำลังเผชิญอยู่นั้นไม่ใช่การบูรณาการทางเทคนิคแต่เป็นเรื่องของการวางแผนข้อมูล จำไว้ว่า การมีข้อมูลเก็บเฉย ๆ ไม่ได้ช่วยคุณแก้ไขปัญหาใด ๆ เว้นแต่ว่าคุณนำมันมาใช้งาน ถ้าการเริ่มกลยุทธ์ 1st party data แบบเต็มรูปแบบฟังดูน่ากลัว คุณสามารถเริ่มทดลองจากการสร้างจุดสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานจริง (Key user journey) และปรับไปสู่ use case เพื่อจะจำลองการสื่อสารแบบผสมผสานหลายช่องทาง (Cross-Channel) ก่อนได้

#2 Personalization ก้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อจะพิชิตตลาด

คุณอาจจะอยากนำ 1st / 0 party data เข้าคอลเล็คชั่นแผนกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing stategy) โดยทันทีแต่การจะทำอย่างนั้นคุณจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าเสียก่อนความสำเร็จของฐานการตลาดแบบยินยอม (Permission marketing) นั้นมีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่ง ความสัมพันธ์นั้นเป็นดาบ 2 คม ลูกค้าจะพึงพอใจให้การเข้าถึงข้อมูลกับคุณก็ต่อเมื่อพวกเขารู้ว่าผลประโยชน์ใดบ้างที่จะได้รับเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

จำได้ไหมว่าคุณเคยยินยอมแบ่งปันข้อมูลหนังที่ชอบ 3 เรื่องให้กับ Netflix เพื่อการแนะนำส่วนบุคคล (Personalised Recommendation) ดังนั้นแล้วก็คุณรู้เป็นอย่างดีเลยนะว่าเรากำลังพูดถึงอะไร

Personalization กลายเป็น “สิ่งพื้นฐานที่จะถูกคาดหวัง”

นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ว่า Personalised นั้นถูกเปลี่ยนสถานะจาก”มีก็ดีไม่มีก็ได้” เป็น”จำเป็นต้องมี” จากการอ้างอิงโดย Accenture 91% ของผู้บริโภค ณ ปัจจุบันมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าหรือบริการกับแบรนด์ที่เสนอและแนะนำ สินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกับความสนใจของพวกเขา

ในขณะที่ 85% ของธุรกิจเชื่อว่าพวกเขาได้เสนอสินค้าหรือบริการที่มีประสบการณ์เฉพาะส่วนบุคคล (Personalized Experience) ให้กับลูกค้าแล้ว มีผู้บริโภคเพียง 60% เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว (Twilio Segment, The State of Personalization 2021 Report) เห็นได้ชัดว่ามีช่องวางบางอย่างระหว่างสิ่งที่บริษัทเสนอกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ว่าแต่ช่องว่างนี้อยู่ตรงไหนล่ะ?

เมื่อ ‘ทำแล้ว’ นั้นไม่พออีกต่อไป คุณต้องทำให้ ‘ดีกว่า’

อันดับแรก Personalization นั้นคือเรื่องของการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ครั้งเดียวจบ ถึงแบรนด์จะมีช่องทางสื่อสารกับลูกค้ามากมายแต่ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นลักษณะแบบ Silo (การทำงานแบบแยกส่วน) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือสารที่ต้องการสื่อต่างกันในแต่ละช่องทางนั้นไม่สอดประสานกัน บ่อยครั้งให้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามที่ทำให้ลูกค้ารำคาญจากการได้รับสารที่มากเกินไป ในทางตรงกันข้าม 70% ของนักการตลาด ปรับใช้การ Personalization บนสื่ออีเมล และมีเพียง 20% ที่ใช้บนสื่ออื่นๆ นี้เองซึ่งยังทำให้ประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ไม่ได้รับการเติมเต็ม

ถัดมา Personalization จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการสร้าง กฎพื้นฐานคือการกำหนดกรอบและใช้ Segment เท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน ในนาทีที่ผ่านมาพวกเขาอาจจะกำลังหาบางอย่างจากหลายเครื่องมือสื่อสาร แต่แล้วก็กลับลำหันไปสนใจสิ่งที่ต่างออกไปได้ภายในเสี้ยววินาทีได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นแล้วกรอบอย่างง่ายจึงไม่สามารถอธิบายผู้บริโภคได้อีก ในขณะเดียวกันการตั้งเงื่อนไขกรอบกำหนดที่มากจนเกินไปก็จะทำให้ยุ่งยาก นั่นเลยทำให้การ Personalize ต่างๆนั้นอยู่ในระดับเล็ก โชคดีว่าปัจจุบัน AI สามารถบรรเทาแก้ไขปัญหาดังกล่าวและช่วยสร้างประสบการณ์แบบ 1:1 ด้วยความสามาถที่สามารถเข้าใจปณิธานของลูกค้า คาดการณ์พฤติกรรมและ นำเสนอข้อแนะนำแบบเรียลไทม์

ด้วยความจำเป็นที่จะส่งประสบการณ์เฉพาะให้กับผู้ใช้ ทำให้เกิดความได้เปรียบในหมู่นักการตลาดหากว่าจะใช้ การสื่อสารหลายช่องทางโดยมีสารที่สอดคล้องกันและมีพื้นฐานจาก User Journey นอกจากนี้ยังใช้ AI มาช่วยเหลือด้านการคาดการเป็นแกนหลัก

#3 Channel spotlight: อีเมล, แชทบอท และเทรนด์ที่กำลังมา

ในบรรดาช่องทางการตลาดทั้งหมดอีเมลและแชทบอทอยู่ในความสนใจของปี 2022

อีเมลกลับมาแล้วและกําลังจะโชว์ความเหนือกว่า

คิดว่าอีเมลล้าสมัยหรือไม่? ลองคิดดูอีกครั้ง 78% ของนักการตลาดกล่าวว่าพวกเขาได้เห็นการเพิ่มขึ้นของ engagement ผ่านอีเมลตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา อีกทั้งอีเมลยังคงเป็นหนึ่งช่องทางที่การสร้าง ROI สูงที่สุด จากการสํารวจโดย Hubspot นอกเหนือจากประสิทธิภาพที่ดีในการผลักดันการ engage และการใช้ที่อยู่อีเมล (Email Address) เพื่อระบุตัวผู้ใช้เพื่อที่จะเชื่อมต่อข้อมูลของ 1st party data อื่น ๆ จึงแปลกที่อีเมลกลับมาแข็งแกร่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บนโซเชียลมีเดียเราได้เห็นนักการตลาดทดลองรูปแบบใหม่ ๆ ในการกวัดแกว่งความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ และอีเมลก็เช่นกัน ยิ่งนับวันแบรนด์ต่างก็เริ่มใส่เนื้อหาแบบโต้ตอบ (Interactive Content) เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น บริติชแอร์เวย์ (British Airways) ที่ใช้ตัวนับถอยหลังเวลาเพื่อแจ้งเตือนลูกค้าถึงเวลาที่เหลืออยู่ในแต่ละโปรโมชั่น หรือโมดูลการให้คะแนนโดยตรงของ Amazon บนอีเมลเพื่อรับคําติชม นอกจากนี้ก็ยังมีไฟล์ภาพ gif, แบบฟอร์ม, วิดีโอภาพ, ภาพ carousel หรือแม้แต่การ์ดขูด (Scratch Card) ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นไอเดียที่แบรนด์เริ่มใช้เพื่อตอบโต้กับลูกค้ามากขึ้น (อ่านเพิ่มเติม: good examples of interactive email)

เนื้อหาแบบโต้ตอบ (Interactive Content) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถก่อให้เกิดความสนใจมากขึ้นจากลูกค้า แต่ถูกมองข้ามโดยนักการตลาดหลายคน 91% ของผู้บริโภคต้องการเนื้อหาแบบโต้ตอบ (Interactive Content) แต่มีเพียง 17% ของนักการตลาดเท่านั้นที่ใช้เนื้อหาเหล่านี้ Litmus กล่าว

โอกาสนั้นยังถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการอีเมลจํานวนมากเองก็เริ่มให้เนื้อหาแบบโต้ตอบในไลบรารีเทมเพลตของพวกเขาเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งาน!

แชทบอทบูมเพื่อผลักดันการสนทนาทางการขาย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าเกิดขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เมื่อผู้บริโภคเลือกซื้อออนไลน์มากขึ้นแบรนด์ต่าง ๆ ก็พบความต้องการการสนทนาผ่านการส่งข้อความในช่องทางต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งนี้เองคือเชื้อเพลิงในการเติบโตของแชทบอท

ยกตัวอย่าง Facebook Messenger วันนี้มีแชทบอทประมาณ 300k บนแพลตฟอร์มเมื่อเทียบกับปี 2018 ที่ 100k ตามข้อมูล Global Market Insights “ขนาดตลาดโดยรวมสําหรับแชทบอททั่วโลกจะมากกว่า $1.3 พันล้าน) ภายในปี 2024”

แชทบอทไม่ได้ถูกใช้ในการตอบกลับอัตโนมัติ เพียงเพื่อลดต้นทุนการดําเนินงานเท่านั้น มันยังถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็ว การสนทนาเพื่อการค้าเป็นแนวทางปฏิบัติที่แบรนด์ใช้เป็น touchpoint กับสังคม เช่น การแชทผ่าน Messenger คือการดึงดูด (Engage) ลูกค้าเพื่อขายผลิตภัณฑ์ การเติบโตของการสนทนาเพื่อการค้า (Conversational Commerce) มีความโดดเด่นเป็นพิเศษใน APAC ผู้คนมีแนวโน้มที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ผ่านการส่งข้อความมากถึง 1.28 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เองเป็นหัวหอกของนวัตกรรม ตามอ้างอิงจาก Meta ภายใต้กระแสดังกล่าว แบรนด์จึงเริ่มลงทุนในแชทบอทที่ขับเคลื่อนโดย AI เพื่อให้เข้าถึงสภาวะทางตลาด ช่วยอํานวยความสะดวก ให้คำแนะนําส่วนบุคคล (Personalised Recommendation) และช่วยเหลือด้านการชําระเงิน (Transectional)

#4 การเร่งเครื่องระบบดิจิตอลด้วยเครื่องมือ low-code/ no-code

นักการตลาดเคยจำต้องพึ่งการสนับสนุนทางเทคนิคเพื่อสร้างไอเดียต่าง ๆ ให้เป็นจริง ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นอีกต่อไป ด้วยเครื่องมือ low-code/ no-code ที่มีมากขึ้นกลายเป็นวิธีที่ทำให้ขั้นตอนการสร้างสรรค์ไอเดียนั้นคล่องตัว (Agile) มากขึ้น

อะไรคือ Low-code/No-code (LC/NC) และสิ่งเหล่านี้จะให้ประโยชน์อะไรคุณ ?

ทั้งเครื่องมือ Low-code และ No-code มีจุดเด่นในเรื่องความง่ายในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันหรือกระบวนการที่ไม่จําเป็นต้องเขียนโค้ด หรือเขียนเพียงเล็กน้อย โดยเครื่องมือเหล่านี้มีคุณสมบัติ Drag and Drop ผ่านอินเทอร์เฟซภาพ (Visual Interface) และลําดับตรรกะอย่างง่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ใช้ปลายทาง (End User) ช่วยเหลือให้ไอเดียของพวกเขาเป็นจริงและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่เครื่องมือ No-code ถูกออกแบบมาสําหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโค้ด (ส่วนใหญ่คือ นักตลาดหรือผู้อยู่ในสายงานธุรกิจ) เครื่องมือ Low-code นั้นเหมาะกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Developer) เพื่อความยืดหยุ่นในการเขียนสคริปต์เพื่อดัดแปลงผลลัพธ์จากการใช้งานแบบ No-code

การเพิ่มขึ้นของ Low-code และ No-code แพลตฟอร์มช่วยเร่งการทดสอบ เร่งการเรียนรู้วงจรการตลาดแบบ Agile อีกทั้งลดระยะเวลาในการทำงานที่เป็นปัญหาคอขวดจากการต้องต่อคิว (Ticket) เพื่อให้ทีมไอทีช่วยจัดการ นอกจากนี้นักการตลาดยังได้รับข้อมูลเชิงลึกโดยตรงจากลูกค้าและ สามารถตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเองได้อย่างง่ายดาย ยังไม่เพียงเท่านั้นพวกเขาสามารถสร้างต้นแบบ (Prototyping) ทางการตลาดได้เองเพื่อยืนยันข้อมูลเชิงลึกเพื่อส่งต่อไปยังทีมผลิตภัณฑ์และทีมพัฒนาเพื่อสร้างแกนหลักของประสบการณ์ลูกค้า

ตามอ้างอิงจาก Gartner, 65% of application development will be low-code ภายในปี 2024.

สิ่งที่การตลาดควรจับตา

LC/NC ถูกใช้อย่างกว้างขวางในด้านการตลาด คุณสามาถดีไซน์ผ่าน Canva ส่งอีเมลอัตโนมัติผ่าน Mailchimp สร้างหน้า Landing Page ด้วย Unbounce หรือตั้งเวลาโพสต์โซเชียลมีเดียของคุณบน Hootsuite ฯลฯ ไม่ว่าคุณจะทําอะไรเกี่ยวกับการตลาดมันก็อาจจะมีเครื่องมือสำหรับสิ่งที่คุณตามหาอยู่ก็เป็นได้

สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ LC / NC ทําให้การค้นพบข้อมูลเชิงลึก (Insight) และการคาดคะเนข้อมูลง่ายขึ้นได้อย่างไร!

การเรียนรู้ของ Machine Learning นั้นถูกมองว่าเป็นการลงทุนเป็นอุปสรรคเพราะทั้งซับซ้อนและสิ้นเปลือง อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์ม No-code ที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันก็ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการคาดการณ์ข้อมูลดังกล่าว (Data Prediction) ทําให้คนที่ไม่ใช่ฝ่ายเทคนิคสามารถฝึกหัดแบบจําลองข้อมูล (Data Model) ได้ด้วยฟังก์ชั่น Drag&Drop คุณสามารถค้นหาการสนับสนุนโมดูล AI ที่ปรับแต่งได้ในแพลตฟอร์ม Customer Engagement ขั้นสูง เช่น Emarsys Blueshift และBraze ที่ช่วยให้นักการตลาดทํานายการซื้อของผู้ใช้ สร้างความสนิทสนม และเข้าถึงการตั้งค่าส่วนบุคคลแบบ 1:1

#5 ลาก่อน All-in-one ต้อนรับ The stack

ตลาดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าแต่ก่อน ช่องทางใหม่ พฤติกรรมผู้บริโภคใหม่เกิดขึ้นได้ทุกวัน ธุรกิจในปัจจุบันจําเป็นต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสภาวะทางตลาดและตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดเครื่องมือของพวกเขาทันกับกระแส นักการตลาด 252 จาก 374 คน (67%) กล่าวว่าพวกเขาปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันเทคโนโลยีการตลาด (Martech application)ในปีที่ผ่านมา (การสํารวจการเปลี่ยน Martech ปี 2021)

รูปแบบ All-in-one ซึ่งเป็นที่ต้องการของธุรกิจบางแห่งเพื่อความสะดวกในการจัดการนั้นถูกให้ความสนใจลดน้อยถอยลงในยุคการตลาดสมัตใหม่ที่คล่องตัว (Agile Marketing)

ข้อเสียเปรียบที่ใหญ่ที่สุดของเครื่องมือแบบครบวงจร (All-in-one) แม้ว่ามันจะทําได้ทุกอย่าง แต่เมื่อพิจารณาส่วนประกอบแต่ละฟังชั่นก์ จะเห็นได้ว่ามีประสิทธิภาพโดยภาพรวมนั้นอยู่แค่ในระดับกลาง ๆ ทําให้การแข่งขันกับแอปพลิเคชันที่มีความโดดเด่นด้านเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ ในทางกลับกันเครื่องมือแบบครบสูตรนี้ยังทำให้คุณต้องจ่ายเกินเพื่อคุณสมบัติบางอย่างที่คุณอาจไม่ต้องการ นั่นทำให้เป็นการได้ไม้คุ้มเสีย รายงานของ Gartner Marketing Technology อ้างว่า 84% ของนักการตลาดที่เลือกเครื่องมือที่มีความโดดเด่นเฉพาะด้านและคิดว่า Martech Stack ของพวกเขามีประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจสูงกว่าผู้ที่เลือกเครื่องมือชุดแบบครบสูตร (Integrated Suite) อยู่ 10%

การเกิดขึ้นของ Stack ที่ยืดหยุ่น ทํางานร่วมกัน และปรับตัวได้

ตัวเลือก Martech Stack ในอนาคตของคุณ ควรถูกพิจารณาจากความจําเป็นสำหรับกลยุทธ์ของคุณ ความสามารถในการบูณาการ การเครื่องมือที่สร้างสรรค์ได้อย่างรวดเร็วด้วยการเริ่มต้นใช้งานง่ายแบบ Plug and Play และสามารถเชื่อมต่ออย่างยอดเยี่ยมกับเครือข่ายแพลตฟอร์มอื่น (ซึ่งไม่ยากเลยล่ะ!) หากเครื่องมือที่คุณเลือกนั้นไม่สามารถผสานรวมกับแฟลตฟอร์มอื่นล่ะก็ มันก็จะทำให้เกิดไซโล (Silo) ที่ทำให้คุณขาดประโยชน์จากการลงทุน Martech

ลองคิดภาพคุณสามารถใช้วิธีการต่อเลโก้ เป็นการปรับแต่ง Martech Stack ที่เติบโตไปพร้อมกับคุณ

สรุปเคล็ดลับ

เมื่อเทคโนโลยีการตลาดกลายเป็นรากฐานที่สําคัญในการทําการตลาดสมัยใหม่ นักการตลาดจึงกระตือรือร้นที่จะค้นหาวิธีการลงทุนที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น และไม่แปลกที่จะหลงทางไปกับเครื่องมือมากมาย และฟังชั่นก์แปลกใหม่ที่เกิดขึ้นมาใหม่ทุกวัน ดังนั้นก่อนที่จะซื้อเครื่องมือใด ๆ ต่อไปนี้เป็นคําแนะนําบางอย่างที่เราต้องการให้คุณคำนึงถึงเสมอ

กลยุทธ์นำเทคโนโลยี

เครื่องมือสามารถใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ Harvard Business Review อธิบายสองข้อผิดพลาดทั่วไป ที่ธุรกิจมักพลาดท่า คือ การซื้อเครื่องมือ Martech ที่ไม่ถูกต้องนั่นรวมถึงการกักตุนข้อมูล (การได้มาซึ่งข้อมูลที่มากเกินไปเพียงเพราะ “สักวันหนึ่งอาจมีประโยชน์”) และการหลงไปกับฟังชั่นก์แปลกใหม่ (นักการตลาดที่หลงไปกับกระแสและความคิดใหม่ ๆโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย) ทั้งสองขึ้นวิธีนั้นเป็นการคิดจากล่างขึ้นบน นั่นคือการค้นหาเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อแก้ปัญหา เมื่อกล่าวถึงการสร้าง Martech Stack ที่มีประโยชน์สูงสุด นั่นคือการเจาะจงสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด – วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติทางการตลาดปัจจุบันของคุณ ระบุให้ได้ว่าเครื่องมือเหล่านี้เหมาะกับกลยุทธ์ของคุณอย่างไร และค้นหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคกับคุณ
อ่านเพิ่มเติม:  https://hbr.org/2021/07/dont-buy-the-wrong-marketing-tech

เริ่มต้นอย่างคล่องตัวและยืดหยุ่น (agile and flexible)

แนวคิดของ Stack เป็นรูปแบบที่ยืดหยุ่นและง่ายต่อการ Plug&Play ดังนั้นคุณไม่จําเป็นต้องซื้อทุกอย่างในครั้งเดียว เครื่องมือบางอย่างอาจสําคัญกว่าเครื่องมืออื่น ๆ (Marketing Technology) คุณควรเริ่มต้นสร้างจาก Customer Journey ที่คุณอยากให้ความสำคัญก่อน กำหนดการวัดผล และพัฒนาจากจุดนั้น คำนึงไว้เสมอว่าตัวเลือกเทคโนโลยีของคุณจะกลายเป็นส่วนประกอบในอนาคตของ Matech Stack ของคุณดังนั้นจงเลือกส่วนผสมที่เหมาะสมที่สามารถมาอยู่ในระบบเดียวกันได้

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการตลาดเต็มไปด้วยความตื่นตา ตื่นใจ แต่บางครั้งก็น่ากลัว หากคุณกําลังพยายามค้นหาความต้องการของคุณเพื่อประเมินเครื่องมือ หรือเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตลองทักมาคุยกับเราก่อน!

Ematic Solutions เป็นทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการตลาด เราได้ร่วมมือกับแพลตฟอร์มชั้นนําในอุตสาหกรรมมากกว่า 70 แพลตฟอร์มจากเทคโนโลยีการตลาดทุกด้านทั้ง Marketing Automation, Messaging, Data & Analytics เราได้ช่วยเหลือมากกว่า 500 แบรนด์ลงทุน Martech อย่างชาญฉลาด ทั้งใน 9 ประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และบอสเนีย

Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp
Email

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์